เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Verb (กริยา)
Verb (กริยา) เป็นคำ หรือ กลุ่มคำที่เป็นการแสดงออก การเคลื่อนไหวของประธาน หรือแสดงสภาวะของประธาน เช่น eat กิน, run วิ่ง, walk เดิน, see เห็น, go ไป
คำกริยา ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประโยคภาษาอังกฤษ เพราะถ้าไม่มีคำกริยาก็จะไม่สามารถสร้างประโยคได้
คำกริยาภาษาอังกฤษประกอบด้วย Finite Verb และ Non-finite Verb
ประเภทของ Verb
Finite > Action, Linking, Auxiliary
Non-finite > Infinite, Gerund, Participle
Finite > Action, Linking, Auxiliary
Non-finite > Infinite, Gerund, Participle
Finite Verb
คือกริยาแท้ ถือเป็นกริยาที่สำคัญของประโยค (กริยาแท้หรือกริยาหลัก Main Verb) เป็นกริยาที่แสดงถึงกาลเวลา (Tense) หรือกริยาที่ถูกกำหนดโดยส่วนประธาน (Subject-Verb Agreement) ซึ่งอาจจะเป็นพจน์ (Number) ของนาม คือเอกพจน์หรือพหูพจน์, สรรพนามบุรุษที่ 1, 2, หรือ 3 (Person) หรือประธานอื่นๆ โดย Finite Verb แบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ Action Verb, Linking Verb และ Auxiliary Verb
คือกริยาแท้ ถือเป็นกริยาที่สำคัญของประโยค (กริยาแท้หรือกริยาหลัก Main Verb) เป็นกริยาที่แสดงถึงกาลเวลา (Tense) หรือกริยาที่ถูกกำหนดโดยส่วนประธาน (Subject-Verb Agreement) ซึ่งอาจจะเป็นพจน์ (Number) ของนาม คือเอกพจน์หรือพหูพจน์, สรรพนามบุรุษที่ 1, 2, หรือ 3 (Person) หรือประธานอื่นๆ โดย Finite Verb แบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ Action Verb, Linking Verb และ Auxiliary Verb
Action Verb
เป็นคำกริยาที่แสดงอาการ การกระทำ มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว (Movement) เช่น run, eat, read, jump, walk, swim, sing เป็นต้น
เป็นคำกริยาที่แสดงอาการ การกระทำ มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว (Movement) เช่น run, eat, read, jump, walk, swim, sing เป็นต้น
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
John eats snack. (eats เป็น Action Verb ทำหน้าที่เป็น Main Verb ของประโยค)
The girl cried at morning. (cried เป็น Action Verb ซึ่งทำหน้าที่เป็น Main Verb ของประโยค)
John eats snack. (eats เป็น Action Verb ทำหน้าที่เป็น Main Verb ของประโยค)
The girl cried at morning. (cried เป็น Action Verb ซึ่งทำหน้าที่เป็น Main Verb ของประโยค)
Linking Verb
เป็นกริยาที่ใช้เชื่อม Subject กับคำอื่นเพื่อขยายประธานของประโยคให้ได้ใจความสมบูรณ์ Linking Verb ที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษเจอบ่อยๆ ได้แก่ Verb to be (be, is, am, are, was, were, being, been) นอกจากนี้ยังรวมถึงคำกริยาบางตัว เช่น feel, small, taste, sound, become เป็นต้น ทั้งนี้คำที่อยู่หลัง Linking Verb จะถูกเรียกว่า Subjective Complement คือ ส่วนขยายประธาน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง Adjective (คำคุณศัพท์) หรือ Noun (คำนาม) โดยมีหน้าที่เสริมความให้ประธานชัดเจนยิ่งขึ้น
เป็นกริยาที่ใช้เชื่อม Subject กับคำอื่นเพื่อขยายประธานของประโยคให้ได้ใจความสมบูรณ์ Linking Verb ที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษเจอบ่อยๆ ได้แก่ Verb to be (be, is, am, are, was, were, being, been) นอกจากนี้ยังรวมถึงคำกริยาบางตัว เช่น feel, small, taste, sound, become เป็นต้น ทั้งนี้คำที่อยู่หลัง Linking Verb จะถูกเรียกว่า Subjective Complement คือ ส่วนขยายประธาน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง Adjective (คำคุณศัพท์) หรือ Noun (คำนาม) โดยมีหน้าที่เสริมความให้ประธานชัดเจนยิ่งขึ้น
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
The sky looked grey. (The sky – subject, looked – linking verb, grey – subjective complement)
ประโยคนี้ looked ไม่ได้เป็น Action Verb ที่แปลว่า มองดู ไม่ได้แปลว่า ท้องฟ้ามองดูเป็นสีเทา แต่เป็น Linking Verb ที่บอกสภาพของท้องฟ้า The sky ว่า ดูเป็นสีเทา หรือมีลักษณะสีเทา
ประโยคนี้ looked ไม่ได้เป็น Action Verb ที่แปลว่า มองดู ไม่ได้แปลว่า ท้องฟ้ามองดูเป็นสีเทา แต่เป็น Linking Verb ที่บอกสภาพของท้องฟ้า The sky ว่า ดูเป็นสีเทา หรือมีลักษณะสีเทา
Tukky is a comedian. (Tukky – subject, is – linking verb, comedian – subjective complement)
ประโยคนี้ comedian วางอยู่หลัง is ทำหน้าที่ขยายประธาน ทำให้รู้ว่า Tukky นั้นเป็นนักแสดงตลก
ประโยคนี้ comedian วางอยู่หลัง is ทำหน้าที่ขยายประธาน ทำให้รู้ว่า Tukky นั้นเป็นนักแสดงตลก
หลัง Linking Verb ต่อไปนี้ จะต้องตามด้วย Adjective เสมอ
คำกริยากลุ่มที่หมายความว่า กลายเป็น ได้แก่ get, go, grow, become ,fall, turn
คำกริยากลุ่มที่แปลว่า ดูเหมือนว่า ได้แก่ look, appear, seem
คำกริยากลุ่มที่บอกความรู้สึก กลิ่น รส และ ความไพเราะของเสียง ได้แก่ feel, smell, taste, sound
คำกริยากลุ่มที่หมายความว่า เป็นอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้แก่ keep, remain, stay
คำกริยากลุ่มที่แปลว่า ดูเหมือนว่า ได้แก่ look, appear, seem
คำกริยากลุ่มที่บอกความรู้สึก กลิ่น รส และ ความไพเราะของเสียง ได้แก่ feel, smell, taste, sound
คำกริยากลุ่มที่หมายความว่า เป็นอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้แก่ keep, remain, stay
ตัวอย่างประโยค The steak doesn’t taste nice. (taste – linking verb, nice – subjective complement/ adjective)
Auxiliary Verb
หมายถึง กริยาช่วย กลุ่ม be (am, are is, was, were, being, been), do (does, did) และ have (has, had, having) ซึ่งจะตามด้วยกริยาแท้ (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถามคำถาม (Question) ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) กาล (Tense) หรือประโยคที่ประธานถูกกระทำ (Passive Voice) สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Helping Verb
หมายถึง กริยาช่วย กลุ่ม be (am, are is, was, were, being, been), do (does, did) และ have (has, had, having) ซึ่งจะตามด้วยกริยาแท้ (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถามคำถาม (Question) ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) กาล (Tense) หรือประโยคที่ประธานถูกกระทำ (Passive Voice) สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Helping Verb
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
I gave the matter a great deal of thought. (gave – main verb)
I have given the matter a great deal of thought. (have – auxiliary verb, given – main verb)
I have been giving the matter a great deal of thought. (have been – auxiliary verb, giving – main verb)
Do they drive safely? (Do – auxiliary verb, drive – main verb)
We don’t want anything. (don’t – auxiliary verb, want – main verb)
I have given the matter a great deal of thought. (have – auxiliary verb, given – main verb)
I have been giving the matter a great deal of thought. (have been – auxiliary verb, giving – main verb)
Do they drive safely? (Do – auxiliary verb, drive – main verb)
We don’t want anything. (don’t – auxiliary verb, want – main verb)
นอกจากนี้ ตำราไวยากรณ์ภาษาอังกฤษบางเล่ม ก็ยังจัดให้ Modal Verb (กริยาช่วยชนิดพิเศษ) อยู่ในกลุ่มของกริยาช่วยประเภทหนึ่งเรียกว่า Modal Auxiliary Verb มีหน้าที่ทำให้กริยาแท้มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น can, could, shall, should, will, would, may, might, must, ought to, need, needn’t โดย Modal Auxiliary Verb เหล่านี้จะใช้นำหน้าคำกริยาแท้หรือกริยาหลัก (Main Verb) ซึ่งอยู่ในรูป Verb Base Form (กริยาพื้นฐาน คือรูปลักษณะที่ยังไม่ได้ฝัน ไม่มีการเติม -s, -es, -ed, – ing) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า verb 1 นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น People should choose friends wisely. (should – modal verb, choose – main verb)
ตัวอย่างเช่น People should choose friends wisely. (should – modal verb, choose – main verb)
หน้าที่ของ Modal Verb
ไม่จำเป็นต้อง = don’t have to
แนะนำ = should, ought to, had better
บังคับหรือห้าม = must, have to, mustn’t
แสดงความสามารถ = can, could, be able to
ขออนุญาต = can, could, may
ขอร้อง = can, could, will
แสดงความเป็นไปได้ = may, might
แสดงการคาดการณ์ล่วงหน้า = must, can’t
เสนอแนะ = shall
เสนอหรือแนะนำ = can, could, shall
แนะนำ = should, ought to, had better
บังคับหรือห้าม = must, have to, mustn’t
แสดงความสามารถ = can, could, be able to
ขออนุญาต = can, could, may
ขอร้อง = can, could, will
แสดงความเป็นไปได้ = may, might
แสดงการคาดการณ์ล่วงหน้า = must, can’t
เสนอแนะ = shall
เสนอหรือแนะนำ = can, could, shall
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
May can ride a horse (แสดงความสามารถ)
You should eat more fruit. (แนะนำ)
You don’t have to call taxi. (ไม่จำเป็นต้อง)
You should eat more fruit. (แนะนำ)
You don’t have to call taxi. (ไม่จำเป็นต้อง)
หากในประโยคภาษาอังกฤษนั้นมีทั้งคำกริยาแบบ Auxiliary Verb และคำกริยาแบบ Modal Auxiliary Verb อยู่ด้วยกัน ผู้เรียนภาษาอังกฤษจะต้องวาง Modal Auxiliary Verb ไว้หน้า Auxiliary Verb เท่านั้น แล้วจึงตามด้วยกริยาแท้ หรือ Main Verb ของประโยค
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
The computer could have made an error. (could – modal auxiliary, have – have auxiliary, made – main verb)
หากมี Adverb of Frequency ได้แก่ always, usually, frequency, often, sometimes, occasionally, hardly, barely, rarely, scarcely, seldom และ never มาอยู่ในประโยคด้วย จะต้องวางอยู่ตรงกลางระหว่าง Modal Auxiliary Verb และ Main Verb
หากมี Adverb of Frequency ได้แก่ always, usually, frequency, often, sometimes, occasionally, hardly, barely, rarely, scarcely, seldom และ never มาอยู่ในประโยคด้วย จะต้องวางอยู่ตรงกลางระหว่าง Modal Auxiliary Verb และ Main Verb
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
I will always love you. (will – modal verb, always – adverb of frequency, love – main verb)
Finite Verb นี้ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของประโยค เพราะถ้าประโยคใดก็ตามขาดกริยาแท้ไป ก็จะทำให้ความหมายของประโยคนั้นไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆ ก็คือ Finite Verb คือ กริยาแท้ที่มีประธานเป็นของตัวเองและเปลี่ยนรูป (ผันได้ 3 ช่อง) ตาม Tense ในประโยค
Finite Verb นี้ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของประโยค เพราะถ้าประโยคใดก็ตามขาดกริยาแท้ไป ก็จะทำให้ความหมายของประโยคนั้นไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆ ก็คือ Finite Verb คือ กริยาแท้ที่มีประธานเป็นของตัวเองและเปลี่ยนรูป (ผันได้ 3 ช่อง) ตาม Tense ในประโยค
John and Jim sing a song.
They sing a song.
Jack will sing a song.
He sings a song.
You are singing a song.
May is singing a song.
She was singing a song.
They sing a song.
Jack will sing a song.
He sings a song.
You are singing a song.
May is singing a song.
She was singing a song.
จากตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษข้างบนจะสังเกตเกี่ยวกับกริยาแท้ (Finite Verb) ได้ดังนี้
กริยาแต่ละตัวจะมีประธานของมันเอง รูปของกริยาจะผันตามประธานที่อยู่ข้างหน้า กริยาแต่ละตัวเวลานำมาใช้ถูกกำหนดโดยพจน์ (Number) ของนาม คือเอกพจน์ หรือ พหูพจน์, สรรพนามบุรุษที่ 1,2,3 (Peron) และ กาล (Tense)
การใช้ Finite Verb ให้ถูกต้อง
อันดับแรก ดูที่ Tense ในประโยคนั้นว่าเป็น ปัจจุบัน(Present) อดีต(Past) หรือ อนาคต(Future) โดยสังเกตจากคำบอกเวลา (Adverb of time) และต่อมา ให้ดูที่ Subject-Verb Agreement คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา ถ้าประธานเอกพจน์ต้องใช้กริยาเอกพจน์ ถ้าประธานพหูพจน์ก็ต้องใช้กริยาในรูปพหูพจน์ และสุดท้าย Active/ Passive โดยปกติแล้วประธานของประโยคจะอยู่ในรูป Active คือประธานจะเป็นคนกระทำกริยานั้นเอง แต่ถ้าอยู่ในรูป Passive ประธานนั้นจะเป็นฝ่ายถูกกระทำ
อันดับแรก ดูที่ Tense ในประโยคนั้นว่าเป็น ปัจจุบัน(Present) อดีต(Past) หรือ อนาคต(Future) โดยสังเกตจากคำบอกเวลา (Adverb of time) และต่อมา ให้ดูที่ Subject-Verb Agreement คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยา ถ้าประธานเอกพจน์ต้องใช้กริยาเอกพจน์ ถ้าประธานพหูพจน์ก็ต้องใช้กริยาในรูปพหูพจน์ และสุดท้าย Active/ Passive โดยปกติแล้วประธานของประโยคจะอยู่ในรูป Active คือประธานจะเป็นคนกระทำกริยานั้นเอง แต่ถ้าอยู่ในรูป Passive ประธานนั้นจะเป็นฝ่ายถูกกระทำ
Non-finite Verb
เป็นกริยาไม่แท้ และจะไม่มีการผันตาม Tense หรือ ประธานที่อยู่ข้างหน้า (รูปเอกพจน์ / พหูพจน์) มีเพียงรูปเดียว ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนก็ตามของประโยค กริยากลุ่มนี้ ได้แก่ Gerund, Infinitive และ Participle และกริยากลุ่มนี้ จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นกริยาแท้ของประโยค แต่จะถูกนำมาใช้ทำหน้าที่อื่นๆ โดยเป็นคำนามบ้าง เป็นคำคุณศัพท์บ้าง
เป็นกริยาไม่แท้ และจะไม่มีการผันตาม Tense หรือ ประธานที่อยู่ข้างหน้า (รูปเอกพจน์ / พหูพจน์) มีเพียงรูปเดียว ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนก็ตามของประโยค กริยากลุ่มนี้ ได้แก่ Gerund, Infinitive และ Participle และกริยากลุ่มนี้ จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นกริยาแท้ของประโยค แต่จะถูกนำมาใช้ทำหน้าที่อื่นๆ โดยเป็นคำนามบ้าง เป็นคำคุณศัพท์บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น